เพิ่มเพื่อน Nangkwag - Favorite Amulet Meeting Center Friday 01 November 2024 TCP/IP : 3.144.40.212 ไทย | 中文 | English
Thailand
แนะนำให้ใช้ Web Browser : Google Chrome หรือ Microsoft Edge

Amulet Booking Form
NKNR2102020
latest sacred object
Open for reservation. The Rich Dragon Coin 2, Phra Mongkhon Vajrajarn, Luang Por Pat Punyakamo (Phra Kru Niwitpunyakorn), Than Thahan Temple (Wat Huai Duan), Nakhon Sawan Province
NKNR2206020
Open for reservation. Floating statue of Phaya Garuda, Rich Chana Poor model, Luang Pho Phat Punyakamo (Phra Kru Niwitpunyakorn), Than Thahan Temple (Wat Huai Duan), Nakhon Sawan Province
NKNR2202006
Open for reservation. Floating statue. full buddhist art Thao Wessuwanno wealth generation Mercy Upatham Luang Por Pat Punyakamo (Phra Kru Niwitpunyakorn), Phra Kerd Kongkaram Temple, Chiang Rai Province
NKNR2202004
Open for reservation. Loi Ong Thao Wessuwan Richesp model, millionaire, Luang Por Pat Punyakamo (Phra Kru Niwitpunyakorn), Than Thahan Temple (Wat Huai Duan), Nakhon Sawan Province
NKNR2201045
Open for reservation Thao Wessuwan coin (Thep face) behind Phaya Garuda model, Rich Instant Rich 2 model, Luang Pho Phat Punyakamo (Phra Kru Niwitpunyakorn), Than Thahan Temple (Wat Huai Duan), Nakhon Sawan Province
NKNR2201034
***** Close Book Period / Empty / Full Booking *****
New Reserve : NKNR2102020
Open for reservation. Thao Wessuwan coin, behind Phaya Garuda, rich man model, rich instantly, Luang Pho Phat Punyakamo, Huai Duan temple, Nakhon Sawan province. Sold Out
รูปภาพโดยรวม + ใบจอง | รูปภาพเพิ่มเติม > 1 - 20
Amulet Information Detail
Amulet
Reverend Father Pat Punyakamo (Phra Kru Niwitpunyakorn)
Model
Thao Wessuwan
Version
Instant rich man
Operation Information
Temple
Wat Than Thahan (Wat Huai Duan)
Temple Operate
อ.หนองบัว จ.นครสวรรค์
Year Operate
2564
Purpose
To contribute to the construction of a 100-year pavilion at Wat Huai Duan, Nong Bua District, Nakhon Sawan Province
Closed for Reservation Date
Thursday 25 February 2021
Release Date
Friday 30 April 2021
Category
Thao Wessuwan, Garuda, amulet
Raw Material
Metal
Material Type
Copper
Buddha's Grace
Price
Delivery Fee
60 Baht
Description
Description
Thao Wessuwan coin, Phaya Garuda back, model, Millionaire Rich Instant, Luang Por Pat Punyakamo, Huai Duan Temple, Nakhon Sawan Province
Objective : To contribute to the construction of a 100-year pavilion, Huai Duan Temple, Nong Bua District, Nakhon Sawan Province
Closed for reservations for sacred objects on February 25, 2021 or until all reservations are sold out
Scheduled to receive amulets at the end of April Beginning of May 2021 onwards
A sacred object has a code. and the serial number of every item (Can not choose a number)
Reservation of sacred objects will be complete only when the full payment has been transferred. Only then
after booking is closed Prices will increase for all items.
Interested in booking
Mrs. new monk reservation center Online
P : 062-29-789-69 / 095-246-4239
line id : nangkwag
Bank Information
Bank
Kasikorn Bank Public Company Limited (KBANK)
Branch Account Type
Seacon Square 2 Savings (SAV)
Account Name Account No.
Mr. Arithat Watcharathanabordeewong 066-8-38052-2
Owner
Booking By
Mobile Number Facebook
0952464239 Nangkwag Home
Line ID Skype
nangkwag
WeChat Twitter
nangkwag
Post Visitor
2021-02-05 00:00:09 34261 ครั้ง
Comment [0]
บทสวด
ท้าวเวสสุวรรณ

ท้าวเวสสุวรรณ (ท้าวเวสสุวัน) หรือในภาษาพราหมณ์เรียกว่า "ท้าวกุเวร" ถ้าในพระพุทธศาสนาจะเรียก "ท้าวไพสพ" เป็นอธิบดีแห่งอสูร หรือเจ้าแห่งภูตผีปีศาจทั้งหลาย โดย ท้าวเวสสุวรรณ เป็นหนึ่งในท้าวจตุโลกบาลทั้งสี่ ผู้คุ้มครองดูแลโลกมนุษย์ สถิตอยู่บนสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกา ประทับทางทิศเหนือมีอสูร รากษส และภูตผีปีศาจเป็นบริวาร ว่ากันว่าอาณาเขตที่ ท้าวเวสสุวรรณ ปกครองนั้นใหญ่มหาศาลมาก และ ท้าวเวสสุวรรณ ยังเป็นหัวหน้าของท้าวจตุโลกบาลทั้ง 4 อันประกอบไปด้วย "พระอินทร์" (ท้าวธตรฐ) ปกครองโลกด้านทิศตะวันออก , "พระยม" (ท้าววิรุฬหก) ปกครองโลกด้านทิศใต้ และ "พระวรุณ" (ท้าววิรูปักษ์) ปกครองโลกด้านทิศตะวันตก และเพราะ ท้าวเวสสุวรรณ เป็นเจ้าแห่งอสูร คนโบราณจึงมักทำรูป ท้าวเวสสุวรรณ แขวนไว้เหนือเปลเด็กอ่อน เพราะเชื่อว่าจะช่วยป้องกันภูตผีปีศาจไม่ให้มารบกวนเด็กเล็กได้ และนิยมทำผ้ายันต์รูป ท้าวเวสสุวรรณ รวมทั้งจำหลักรูป ท้าวเวสสุวรรณ ไว้ที่มีดหมอของสัปเหร่อ เพื่อกำราบวิญญาณ และยังมีผู้พกพารูป ท้าวเวสสุวรรณ หรือทำเป็นเครื่องรางของขลัง ป้องกันภัยจากวิญญาณอีกด้วย ทั้งนี้ ส่วนใหญ่แล้วเรามักเห็นภาพ ท้าวเวสสุวรรณ ในรูปลักษณ์ของยักษ์ ยืนถือกระบองยาว หรือไม้เท้าขนาดใหญ่อยู่ระหว่างขา เหมือนมีขาสามขา เนื่องจากท้าวกุเวรมีรูปร่างพิการ จึงเป็นเหตุให้พระพรหมตั้งชื่อให้ว่า "ท้าวกุเวร" แต่ในวรรณคดีหลายฉบับ รวมทั้งตำราโบราณ ได้กล่าวตรงกันว่า อันที่จริงแล้ว ท้าวเวสสุวรรณ เป็นยักษ์ที่มีผิวกายและพัสตราภรณ์สีเหลืองทอง จิตใจดีงาม และอุทิศตนถวายพิทักษ์รักษาพุทธสถาน และพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ดังนั้น หากใครที่เดินทางไปยังวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ที่จังหวัดพิษณุโลก ก็อาจจะได้พบรูปหล่อปิดทองด้านซ้ายของฐานองค์พระพุทธชินราช ทำเป็นรูป ท้าวเวสสุวรรณ เพื่อปกปักคุ้มครองพระพุทธศาสนา ไม่ให้หมู่มารมารังควาน รวมทั้งปกป้องคุ้มครองแก่ผู้นั่งสมาธิปฏิบัติพระกรรมฐาน ดังนั้น เราอาจจะเคยเห็นว่า วัดวาอารามต่าง ๆ หรือด้านหน้าถ้ำ จะมีรูปปั้้นยักษ์ 1 หรือ 2 ตน ยืนถือกระบองค้ำพื้นเฝ้าหน้าประตูโบสถ์ หรือวิหารที่เก็บของมีค่า โบราณวัตถุของทางวัดอยู่ ซึ่งหากยักษ์ที่ยืนปกปักรักษาอยู่มีตนเดียว นั่นก็คือ ท้าวเวสสุวรรณ นั่นเอง แต่ถ้าหากมี 2 ตน ก็คือบริวารของ ท้าวเวสสุวรรณ ที่จะมาคอยปกปักรักษาบริเวณวัด และนอกจาก ท้าวเวสสุวรรณ จะมีหน้าที่ปกปักรักษาพระพุทธศาสนาแล้ว ท้าวเวสสุวรรณ ยังมีหน้าที่จดความดีของคนทางทิศเหนือไปจารึก และประกาศให้เทพยดาบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ได้รับรู้อีกด้วย

ตามตำนานทางพระพุทธศาสนา เชื่อกันว่า ในอดีตชาติ ท้าวเวสสุวรรณ เคยเป็นพราหมณ์ เปิดโรงงานค้าขายหีบอ้อยจนร่ำรวย ด้วยความใจบุญจึงได้นำเงินทองไปบริจาคให้ผู้ยากไร้ และด้วยกุศลผลบุญที่ ท้าวเวสสุวรรณ บำเพ็ญมานับหลายพันปี พระพรหม และ พระอิศวร จึงให้พรแก่ ท้าวเวสสุวรรณ ให้เป็นอมตะ และเป็นเจ้าของทรัพย์สมบัติทั่วปฐพี เป็นเทพแห่งความร่ำรวย ดังนั้นผู้คนจึงนิยมจำหลักรูป ท้าวเวสสุวรรณ ไว้เคารพบูชาเพื่อความมั่งคั่งอีกหนึ่งประการ ตรงตามความหมายของชื่อ "ท้าวเวสสุวรรณ" คือ คำว่า "เวส" แปลว่า พ่อค้า จึงหมายถึงพ่อค้าอันมีทรัพย์ ได้แก่ ทองค

นอกจากนี้อีกหนึ่งตำนานในพระพุทธศาสนา เชื่อกันว่า ในชาติหนึ่ง ท้าวเวสสุวรรณ ซึ่งเดิมชื่อ กุเวรพราหมณ์ ได้ทำบุญกุศลมาก จนชาติต่อมา ได้เป็นกษัตริย์ครองกรุงราชคฤห์ พระนามว่า พระเจ้าพิมพิสาร และทรงเป็นพระสหายกับเจ้าชายสิทธัตถะ ต่อมาเจ้าชายสิทธัตถะตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้เสด็จมาโปรดพระเจ้าพิมพิสาร จนบรรลุเป็นโสดาบัน และได้ถวายพระเวฬุวันมหาวิหาร ให้พระพุทธเจ้าได้เข้าประทับ จึงเป็นอานิสงส์ให้ได้วิมานอันสวยงาม และการที่พระเจ้าพิมพิสารถวายทานบ่อย ๆ จึงเป็นปัจจัยให้มีทิพยสมบัติมากมาย เมื่อได้เป็นเทวดาก็ทรงมีอำนาจมาก

ขณะที่ตามตำนานของพรามหณ์ เชื่อกันว่า ท้าวเวสสุวรรณ หรือ ท้าวกุเวร หรือ กุเปรัน เป็นพี่ชายต่างมารดาของทศกัณฐ์ แต่ไปนับถือท้าวมหาพรหมผู้เป็นเทวดา เพราะปรารถนาจะบำเพ็ญบารมี ทำให้ผิดใจกับพ่อซึ่งอยู่ในตระกูลยักษ์ โดยท้าวมหาพรหมทรงโปรดปรานท้าวกุเวร จึงประทานบุษบกให้ เพื่อให้ล่องลอยไปไหนมาได้ตามใจปรารถนา ก่อนที่ทศกัณฐ์จะไปแย่งบุษบกของท้าวกุเวรที่พระมหาพรหมประทานให้ไป และยึดกรุงลงกาที่ท้าวกุเวรปกครองอยู่มาได้สำเร็จ ท้าวมหาพรหมจึงสร้างนคร "อลกา" ให้ท้าวกุเวรใหม่

ประวัติท่านท้าวเวสสุวรรณ (ท้าวเวสสุวัณ)

ตำนานท้าวเวสสุวัณ มีกำเนิดจากหลายตำนานรูปร่างหน้าตาของท้าวเวสสุวรรณ (ท้าวเวสสุวัณ) จะเป็นที่คุ้นเคยในบ้านเราเป็นอย่างดี คือ เป็นรูปยักษ์ถือตะบองขนาดใหญ่ ด้วยท่านเป็นเจ้าแห่งอสูร รากษสและภูตผีปีศาจ

ท้าวเวสสุวรรณคือใคร ถ้าหากจะพูดถึง “เจ้า” หรือ “นาย”แห่งภูตผีปีศาจทั้งหลายแล้ว เรามักจะเอ่ยนาม “ท้าวเวสสุวัณ” หรือที่พราหมณ์เรียกกันว่า “ท้าวกุเวร” และทางพุทธเรียก “ท้าวไพสพ” ซึ่งสถิตอยู่ในสวรรค์ชั้นล่างสุดของฉกามาพจร ชื่อสวรรค์ชั้นจตุมหาราชิกาภูมิ

รูปร่างหน้าตาของ ท้าวเวสสุวรรณ (ท้าวเวสสุวัณ) จะเป็นที่คุ้นเคยในบ้านเราเป็นอย่างดี คือ เป็นรูปยักษ์ถือตะบองขนาดใหญ่ ด้วยท่านเป็นเจ้าแห่งอสูร รากษส และภูตผีปีศาจ คนโบราณจึง มักทำ รูปท้าวเวสสุวรรณ แขวนไว้เหนือเปลเด็กอ่อน เพื่อป้องกันไม่ให้ภูตผีปีศาจมารบกวนเด็กเล็ก และนิยมทำ ผ้ายันต์รูปท้าวเวสสุวรรณ (ท้าวเวสสุวัณ) หรือจำหลักเป็นด้ามของมีดหมอที่สัปเหร่อใช้กำราบวิญญาณ เนื่องจากสมัยก่อนเวลาเผาศพก็ยกขึ้นกองฟอนแล้วใส่ไฟเผา พอร้อนเข้าเส้นเอ็นก็ยึดถึงขนาดลุกขึ้นนั่ง สัปเหร่อเลยต้องใช้มีดกรีดตามเส้นเอ็นก่อน ทีนี้พอยกขึ้นเผาศพก็จะไม่กระดุกกระดิก เลยเป็นความเชื่อว่ามีดหมอจำหลักรูปท้าวเวสสุวัณสามารถปราบผีได้

คติความเชื่อ ตำนานท้าวเวสสุวรรณ

ประวัติท้าวเวสสุวรรณ ตำนานท้าวเวสสุวัณ คติความเชื่อแบบไตรภูมิ เชื่อว่ามีท้าวโลกบาลประจำอยู่ 4 ทิศ จึงนิยมจำหลักอยู่ตามบานประตูโบสถ์ วิหาร เรียกว่า “ทวารบาล” หมายถึง ผู้ดูแลประตู บางครั้งพบทวารบาลบางแห่งเป็นแบบจีน แทนที่จะเป็นรูปเทวดาแบบไทยถือพระขรรค์ กลับเป็นเทวดาจีนคล้ายตัวงิ้ว ถือ หอก ดาบ หรือง้าว เหยียบอยู่บนสิงโตจีน เราเรียกว่า “เสี้ยวกาง” หรือ “เซี่ยวกาง” เข้าใจว่าเป็นอิทธิพลของจีนที่เข้ามาสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่ หัว รัชกาลที่ 3 เนื่องจากพระองค์นิยมงานศิลปะและสถาปัตยกรรมแบบจีน ท้าวเวสสุวรรณ ของ ท่านเจ้าประคุณศรี(สนธิ์) วัดสุทัศนเทพวราราม

ท้าวจตุโลกบาลประจำทิศทั้งสี่จะประกอบด้วย

“ทิศตะวันออก” พราหมณ์เรียก พระอินทร์ พุทธเรียก ท้าวธตรฐ มี คนธรรพ์ เป็นบริวาร

“ทิศตะวันตก” พราหมณ์เรียก พระวรุณ พุทธเรียก ท้าววิรูปักษ์ มีนาค ครุฑ และเทวดา เป็นบริวาร

“ทิศใต้” พราหมณ์เรียก พระยม พุทธเรียก ท้าววิรุฬหก มี กุมภัณฑ์ เป็นยักษ์มีอัณฑะใหญ่เท่าหม้อตาลเป็นบริวาร

และ “ทิศเหนือ” ได้แก่ ท้าวเวสสุวรรณ พราหมณ์เรียก ท้าวกุเวร พุทธเรียก ท้าวไพสพ มี อสูร รากษส และภูตผีปีศาจ เป็นบริวาร

ท้าวกุเวรนอกจากนี้ ในตำราโบราณและงานวรรณคดีกล่าวตรงกันว่า ท้าวเวสสุวรรณ (ท้าวเวสสุวัณ) เป็นยักษ์ที่มีพัสตราภรณ์และผิวกายสีเหลืองทอง จิตใจดีงาม ดำรงอยู่ในสัตยธรรม ถึงขนาดอุทิศตนถวายพิทักษ์รักษาพุทธสถาน และองค์พระพุทธเจ้า เช่น รูปหล่อปิดทองด้านซ้ายของฐานองค์พระพุทธชินราช วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จ.พิษณุโลก ก็ทำเป็นรูปท้าวเวสสุวรรณ (ท้าวเวสสุวัณ) ส่วนด้านขวาเป็นยักษ์อีกตนหนึ่งชื่อ “อา ฬาวกยักษ์” เหตุที่เรียกกันว่า “ท้าวกุเวร” เนื่องจากพระพรหมเห็นว่ามีรูปร่างไม่ดี ร่างกายพิการต้องถือไม้เท้า จึงตั้งชื่อให้ดังนั้น ที่บ้านเรามาจำหลักเป็นยักษ์ถือตะบองยันพื้น ก็คงจะมีเค้าเงื่อนมาจากเรื่องดังกล่าว

ความหมายของชื่อ “ท้าวเวสสุวัณ” นั้น เวส แปลว่า พ่อค้า หมายถึง พ่อค้าอันมีทรัพย์ อันได้แก่ ทองคำ เนื่องจากท้าวเวสสุวรรณ (ท้าวเวสสุวัณ) เคยมีอดีตชาติเป็นพราหมณ์ เปิดโรงงานค้าขายหีบอ้อยจนร่ำรวย และได้นำเงินทองบริจาคให้ผู้ยากไร้ เมื่อเกิดใหม่จึงได้ครองเมืองวิสานะนคร ผู้คนจึงเรียกว่าเวสาวัณ ด้วยกุศลดังกล่าวจึงได้รับพรจากพระพรหมให้เป็นอมตะไม่ตาย และให้เป็นเจ้าของทรัพย์สมบัติต่างๆ ทั่วแผ่นดิน

บ้านเรารู้จักกันในชื่อ “ปู่โสมเฝ้าทรัพย์” หรือในชื่อ “ธนบดี” แปลว่า ผู้เป็นใหญ่ในทรัพย์ หรือ “ธเนศวร” แปลว่า เจ้าแห่งทรัพย์ อีกทั้งมีหน้าที่คอยจดความดีของคนทางทิศอุดรขึ้นไปจารึกและประกาศให้ปวง เทพยดาบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์รับรู้ ผู้คนจึงนิยมจัดสร้าง หรือ จำหลักรูปท้าวเวสสุวรรณ (ท้าวเวสสุวัณ) และเคารพบูชาเพื่อความมั่งคั่งอีกด้วย คาถาท้าวเวสสุวรรณ ผ้ายันต์ท้าวเวสสุวรรณ วัดพราหมณี วัดหลวงพ่อปาดแดง รูปหล่อท้าวเวสสุวรรณ เจ้าคุณศรีสนธิ์ วัดสุทัศน์

วัตถุมงคลที่นิยมทำเป็นรูปท้าวเวสสุวัณก็จะมีมากมาย อาทิ ท้าวเวสสุวรรณ (ท้าวเวสสุวัณ) ของท่านเจ้าประคุณศรี(สนธิ์) วัดสุทัศนเทพวราราม เป็นต้น

ตามตำนานของฮินดู

ท้าวเวสสุวัณ เป็นบุตรพระวิศระวัสมุนี กับนางอิฑาวิฑา และเพราะว่ามีร่างกายที่งดงามจึงมีนามว่า “กุเวร” ซึ่งแปลว่า ตัวขี้ริ้ว

กุเวร หรือท้าวเวสสุวัณนี้ ถึงแม้ว่าจะเป็นยักษ์ที่มีหน้าตาน่าเกลียดน่ากลัว แต่ก็เป็นยักษ์ฝ่ายธรรมะ ดำรงตนอยู่ในศีลในธรรมเพียรบำเพ็ญตบะอยู่หลายพันปี จนได้รับพระพรจากท้าวมหาพรหมให้เป็น “พระธนะบดี” คือเจ้าแห่งทรัพย์ทั้งปวงและเป็นราชาแห่งยักษ์ทั้งหลาย พระวิศระวัสมุนี เป็นบิดาให้ท้าวเวสสุวัณไปอยู่นครลงกา ซึ่งพระวิศวกรรมสร้างให้เป็นที่อยู่เพราะเกรงกลัวฤทธิ์เดชของพระนารายณ์ นครลงกาขณะนั้นจึงรกร้างว่างเปล่าลงท้าวเวสสุวัณจึงได้ปกครองนครลงกาสืบมา ต่อมา ท้าวสุมาลีซึ่งเป็นยักษ์ตนหนึ่งหนีพระนารายณ์ไปอยู่ใต้บาดาลคิดอุบายจะเอานครลงกาคืน จึงวางแผนนำธิดาชื่อนิกษาไปถวายให้เป็นภรรยาพระวิศวะวัสมุนี แล้วได้เกิดบุตรร่วมกัน 4 ตน คือ 1. ท้าวราพณาสูร (ทศกัณฑ์) 2. กุมภกรรณ 3. วิภิษณ์ (พิเภษณ์) 4. นางศูรปนขา ด้วยเหตุนี้ท้าวเวสสุวัณจึงมีศักดิ์เป็นพี่ของทศกัณฑ์ เพราะว่าเป็นลูกร่วมบิดาเดียวกัน แต่ต่างมารดากัน ต่อมา นางนิกษาเห็นความสง่าของท้าวเวสสุวัณเวลาขึ้นบุษบก ที่ได้รับการประทานจากท้าวมหาพรหม ลอยไปบนอากาศเพื่อเข้าเฝ้าพระบิดาด้วยความสง่างาม นางยักษ์จึงมีความอิจฉาริษยาตามแบบฉบับของแม่เลี้ยงทั่วไปที่ไม่อยากเห็นคนอื่นได้ดีเกินลูกของตัว เลยยุยงให้ทศกัณฑ์ตั้งใจบำเพ็ญตบะอยู่หลายพันปี จนได้รับการเมตตาจากท้าวมหาพรหมประทานพรให้เป็นผู้มีอิทธิฤทธิ์ยิ่งกว่ามนุษย์ทั้งหลาย แล้วจึงยกทัพไปแย่งนครลงกา และบุษบกได้จากท้าวเวสสุวัณ ผู้เป็นพี่ชายพ่อเดียวกันแท้ ๆ แต่ท้าวเวสสุวัณถึงแม้จะเป็นยักษ์ก็เป็นยักษ์ฝ่ายธรรมะ และรักสันติไม่ต้องการก่อให้เกิดศึกสายเลือด จึงทิ้งนครลงกาและบุษบกให้ทศกัณฑ์แล้วพาบริวารหนีออกจากนครลงกาไปหาที่อยู่ใหม่ ท่านท้าวมหาพรหม เห็นความดีของท้าวเวสสุวัณ จึงให้พรเป็น อมตะ ไม่มีการตายและเป็นโลกบาล ประจำทิศอุดร (ทิศเหนือ) เป็นเจ้าแห่งทรัพย์ ปกครองสวรรค์ชั้นที่ 1 ซึ่งเป็นดินแดนน่าอยู่ เพราะมีรมณียสถานอันสำราญปราศจากความทุกข์โศกโรคภัยและความเหนื่อยยาก ปราศจากความวิตก ความหิว และความกลัวต่าง ๆ ทั้งยังมีอายุยืนถึงหมื่นปี มีสวนสวรรค์ชื่อ เจตระรถ บรรดาต้นไม้ประดับในสวนล้วนรโหฐาน มีใบเป็นผ้าเนื้อดี มีดอกเป็นอัญมณีล้ำค่า และมีผลเป็นนางกินรีงดงาม พระวิศวกรรมเป็นผู้สร้างมหาปราสาทให้อยู่อย่างโอฬารและวิจิตตระการตา มีกินนรและนางกินรีเป็นนางบำเรอ…

สวรรค์ชั้นที่ 1 นี้เรียกว่า สวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกา ตั้งอยู่ ณ เขาพระสุเมรุกลางจักรวาล โดยมียอดเป็นที่ตั้งของสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ซึ่งเป็นสวรรค์ชั้นที่ 2 พระอินทร์เป็นผู้ปกครอง (สวรรค์มี 6 ชั้น) สาเหตุที่เรียกสวรรค์ชั้นที่ 1 นี้ว่า จาตุมหาราชิกา ก็เพราะว่ามีจตุมหาราชเป็นผู้ปกครอง 4 องค์ดังที่เราเรียกว่า “จตุโลกบาล” คือมีหน้าที่รักษาโลกมนุษย์ใน 4 ทิศ ได้แก่

1.ทิศตะวันออก รักษาโดยท้าวธตรฐ จอมคนธรรพ์ ซึ่งคนธรรพ์นี้เป็นลูกครึ่งคนกับเทวดา เป็นผู้รักษาต้นโสมจึงมีความชำนาญการปรุงยา และเป็นนักษัตรคือมีความรอบรู้การดูดวงดาว เชี่ยวชาญดาราศาสตร์ และโหราศาสตร์ นอกจากนี้ยังเป็นชาวสวรรค์ที่ชำนาญการขับร้องและเล่นดนตรี ดีด สี ตี เป่า จึงมีหน้าที่เป็นพระภูมิรักษาห้องบ่าวสาวอีกด้วย

2.ทิศใต้ รักษาโดยท้าววิรุฬหก จอมกุมภัณฑ์ ซึ่งความจริงท้าววิรุฬหกนี้เป็นจอมเทวดาองค์หนึ่ง มีนามว่า “พระพิรุฬห์” เป็นเจ้าแห่งน้ำทั้งปวง เป็นเทวราชที่มีฤทธิ์ยิ่งกว่าเทพเจ้าองค์อื่น ๆ จึงเป็นผู้สร้างและบำรุงเทวโลกและมนุษย์โลก มีอำนาจและรอบรู้ในสิ่งทั้งปวงเพราะเป็นผู้ส่งเทวทูตไปทั่วทุกสารทิศเพื่อจดจำการกระทำของเทวดา มนุษย์และอสูรทั้งปวง ท่านเป็นผู้ที่เกลียดชังการกล่าวเท็จ และมีผู้ผิดสัญญาจึงมักจะลงโทษให้เจ็บป่วยไข้ หรือนำวรุณบาศคล้องคอไปลงทัณฑ์ แต่พระองค์เป็นผู้มีเมตตาถ้าผู้ใดสำนึกผิดก็จะผ่อนปรนให้ และผู้ใดประพฤติดีอยู่ในทำนองคลองธรรมท่านก็จะอำนวยความสุขสวัสดี ช่วยให้รอดพ้นจากภัยอันตรายได้ในบางคราว

3.ทิศตะวันตก รักษาโดยท้าววิรูปักษ์ จอมนาค คือมีบริวารเป็นมนุษย์ผสมนาคมีหน้าที่รักษา สมณะชีพราหมณ์และมนุษย์ผู้รักษาศีลภาวนาทั่วไป ซึ่งนาคนั้นมีความสำคัญไม่น้อย เคยขดตัวทำเป็นบัลลังก์ให้พระวิษณุบรรทมอยู่ในเกษียรสมุทร เคยให้เป็นเชือกผูกเรือไว้กับกระโดงปลาใหญ่ ซึ่งพระนารายณ์อวตารเมื่อคราวน้ำท่วมโลก และเป็นเชือกพันกับภูเขาในการทำน้ำอมฤต ทั้งพระยานาคยังเป็นสร้อยสังวาลของพระอิศวรอีกด้วย ฯลฯ นี่ว่ากันตามคัมภีร์รามายณะของพราหมณ์

ส่วนในสมัย พระสมณโคดมบรมพุทธเจ้าของเราก็มีนาค มาเกี่ยวข้องหลายคราว เช่น เมื่อคราวที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้แล้วเสวยวิมุตติสุขอยู่ใต้ต้นจิก ก็มีพญานาคราชชื่อ “มุจลินท์” มาขดตัวเป็นฐานแล้วแสดงอิทธิฤทธิ์แผ่พังพานบังแดดบังฝนซึ่งก่อให้เกิด พระพุทธรูปปางนาคปรกขึ้น ดังนี้เป็นต้น

4.ทิศเหนือ รักษาโดยท้าวกุเวร หรือท้าวเวสสุวัณ จอมยักษ์ ผู้เป็นเจ้าแห่งยักษ์ กุมภัณฑ์ รากษส แทตย์ ทานพ เปรต อสูร อสุรกาย อมนุษย์ ตลอดทั้งเป็นนายของบรรดาภูตผี ปีศาจทั้งปวง

ท้าวเวสสุวัณมี คทา หรือกระบองเป็นอาวุธ ซึ่งมีฤทธิ์เดชเป็นที่เกรงกลัวของบรรดายักษ์ อมนุษย์ และภูติผียิ่งนัก พระโบราณจารย์ ผู้เรืองวิชาจึงนิยมนำพระคาถามาจารึกในมีดหมอ ไม้เท้าครู หรือใช้เสกหวาย เสกก้านมะยม เสกโพล เสกว่าน เสกทราย เสกข้าวสาร เสกด้ายมงคลลงลูกประคำ หรือทำน้ำมนต์สำหรับเฆี่ยนขับผีดียิ่งนัก เรียกว่า พระคาถาอาวุธ 5 ประการ ดังนี้คือ

1. อาวุธพระอินทร์ ได้แก่ สายฟ้า

2. อาวุธพระยม ได้แก่ ตา

3. อาวุธท้าววิรุฬหก (หรืออาฬะวะ จอมกุมภัณฑ์) ได้แก่ ผ้าโพกศีรษะ คือวรุณบาศนั่นเอง

4. อาวุธท้าวเวสสุวัณ ได้แก่ คทา

5. อาวุธพระพุทธเจ้า ได้แก่ พระธรรมจักร ซึ่งมีมากมายถึง 84,000 พระธรรมขันธ์ด้วยกัน

พระคาถาอาวุธ 5 ประการนี้ เป็นวิทยาคมทางด้านการขับภูตผีปีศาจ

การอัญเชิญท้าวเวสสุวัณเข้าสู่บ้านหากจะนำภาพท้าวเวสสุวัณก็ดี รูปหล่อ รูปบูชาหรือรูปหล่อขนาดเล็กห้อยคอ รวมไปถึงเหรียญ เมื่อจะนำเข้าบ้านให้หันหน้าไปทางทิศเหนือ ตั้งจิตให้สงบ นึกถึงองค์ท้าวเวสสุวัณอธิษฐานเชิญท่านเข้าบ้าน นึกถึงภาวนาในใจ บอกเจ้าที่เจ้าทางแล้วขอบารมีท้าวเวสสุวัณ ให้คุ้มครองตนเองและบริวาร ให้เจริญรุ่งเรืองอยู่เย็นเป็นสุข จากนั้นเชิญท่านขึ้นสู่ที่ตั้งบูชาการบูชาท้าวเวสสุวัณ ทุกครั้งให้จุดธูป ๙ ดอกการถวายของ ได้แก่หมากพลู น้ำเปล่า ผลไม้ ๕ ชนิด ได้แก่ ส้ม ขนุน สัปปะรส ฟักทองมะพร้าวอ่อน

คาถาบูชาท้าวเวสสุวัณ หรือ ท้าวกุเวร

ในคัมภีร์โบราณ กล่าวไว้ว่าผู้ใดหวังความเจริญในลาภยศ ทรัพย์สินเงินทอง อำนาจวาสนา ให้บูชารูป องค์ท้าวเวสสุวรรณ หรือ ท้าวกุเวร ตามคาถาบูชาต่อไปนี้คาถาบูชาท้าวเวสสุวรรณ หรือ ท้าวกุเวร (บูชาประจำวัน)

จุดสักการะธูป 9 ดอก และถวายดอกกุหลาบ 9 ดอก แล้วตั้งนะโม 3 จบ ระลึกถึงคุณบิดา มารดา และครูบาอาจารย์ ทั้งหลาย ที่ประสิทธิประสาทวิชามาแล้วระลึกถึง พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ แล้วท่องคาถาท้าวเวสสุวรรณดังนี้

นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ (๓ จบ)
อิติปิโสภะคะวา ยมมะราชาโนท้าวเวสสุวรรณโณ
มรณังสุขัง อะหังสุคะโตนะโมพุทธายะ
ท้าวเวสสุวรรณโณ จตุมหาราชิกายักขะพันตา ภัทภูริโต
เวสสะ พุสะ พุทธัง อะระหัง พุทโธ ท้าวเวสสุวรรณโณนะโมพุทธายะ
พระคาถาอาวุธ 5 ประการ
นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ (๓ จบ)
สักกัสสะ วะชิราวุธัง ยมมัสสะ นัยยะสาวุธัง อาฬะวะกัสสะ ทุสาวุธัง เวสสุวัณณัสสะ คะทาวุธัง พุทธัสสะ ธัมมะจักกะวุธัง อะระหัง พุทโธ นะโมพุทธายะ
  ✨ นางกวัก : ศูนย์จองพระใหม่ ออนไลน์  
  ☎️ พี : 062-29-789-69 / 095-246-4239  
  📱 line id : nangkwag  
  💻 www.nangkwag.com  
     
Same Category
Open for reservations: floating statues, coins, amulets, Phra Paisorn (Thao Wessuwan), model Nuea Duang, Chana Mara, Phra Ratchawacharathammasophon (Luang Pu Sila Sirichanto), Wat Phra That Muen Hin, Kalasin Province
NKNR2408032
Open for reservation for the 25th Anniversary Coin of Thao Wessuwanno. Udon Thani City Pillar Shrine, Chao Sua Model, Udon Thani Municipal Hospital Foundation, Udon Thani Province
NKNR2407009
Open for reservations: Kring Thao Wessuwan Watermelon seed locket, 3-inch worship statue, Phra Samu Boonanan Khemanantho model, Sunthorn Pariyatimethi Dhamma Practice Center. Ubon Ratchathani Province
NKNR2406030
Open for reservation: Tamarind Leaf Coin Thao Wessuwan Billionaire model Thao Wessuwanno Park Phrakru Sopitviriyaporn (Luang Pho It Phattajaro) patronizes Phra Wihan Thewasathit. Sanparachan Foundation, Nakhon Pathom Province
NKNR2406025
Open for reservations for annual commemorative coins Reverend Father Ban Laem Seated behind Thao Wessuwanno, Jatumahārajika, Sapcharoen model. Phet Samut Worawihan Temple Samut Songkhram Province and Chulamanee Temple Samut Songkhram Province
NKNR2406019
Picture Sacred Objects : NKNR2102020