ตำนานท้าวเวสสุวัณ มีกำเนิดจากหลายตำนานรูปร่างหน้าตาของท้าวเวสสุวรรณ (ท้าวเวสสุวัณ) จะเป็นที่คุ้นเคยในบ้านเราเป็นอย่างดี คือ เป็นรูปยักษ์ถือตะบองขนาดใหญ่ ด้วยท่านเป็นเจ้าแห่งอสูร รากษสและภูตผีปีศาจ
|
ท้าวเวสสุวรรณคือใคร ถ้าหากจะพูดถึง “เจ้า” หรือ “นาย”แห่งภูตผีปีศาจทั้งหลายแล้ว เรามักจะเอ่ยนาม “ท้าวเวสสุวัณ” หรือที่พราหมณ์เรียกกันว่า “ท้าวกุเวร” และทางพุทธเรียก “ท้าวไพสพ” ซึ่งสถิตอยู่ในสวรรค์ชั้นล่างสุดของฉกามาพจร ชื่อสวรรค์ชั้นจตุมหาราชิกาภูมิ
|
รูปร่างหน้าตาของ ท้าวเวสสุวรรณ (ท้าวเวสสุวัณ) จะเป็นที่คุ้นเคยในบ้านเราเป็นอย่างดี คือ เป็นรูปยักษ์ถือตะบองขนาดใหญ่ ด้วยท่านเป็นเจ้าแห่งอสูร รากษส และภูตผีปีศาจ คนโบราณจึง มักทำ รูปท้าวเวสสุวรรณ แขวนไว้เหนือเปลเด็กอ่อน เพื่อป้องกันไม่ให้ภูตผีปีศาจมารบกวนเด็กเล็ก และนิยมทำ ผ้ายันต์รูปท้าวเวสสุวรรณ (ท้าวเวสสุวัณ) หรือจำหลักเป็นด้ามของมีดหมอที่สัปเหร่อใช้กำราบวิญญาณ เนื่องจากสมัยก่อนเวลาเผาศพก็ยกขึ้นกองฟอนแล้วใส่ไฟเผา พอร้อนเข้าเส้นเอ็นก็ยึดถึงขนาดลุกขึ้นนั่ง สัปเหร่อเลยต้องใช้มีดกรีดตามเส้นเอ็นก่อน ทีนี้พอยกขึ้นเผาศพก็จะไม่กระดุกกระดิก เลยเป็นความเชื่อว่ามีดหมอจำหลักรูปท้าวเวสสุวัณสามารถปราบผีได้
|
คติความเชื่อ ตำนานท้าวเวสสุวรรณ
|
ประวัติท้าวเวสสุวรรณ ตำนานท้าวเวสสุวัณ คติความเชื่อแบบไตรภูมิ เชื่อว่ามีท้าวโลกบาลประจำอยู่ 4 ทิศ จึงนิยมจำหลักอยู่ตามบานประตูโบสถ์ วิหาร เรียกว่า “ทวารบาล” หมายถึง ผู้ดูแลประตู บางครั้งพบทวารบาลบางแห่งเป็นแบบจีน แทนที่จะเป็นรูปเทวดาแบบไทยถือพระขรรค์ กลับเป็นเทวดาจีนคล้ายตัวงิ้ว ถือ หอก ดาบ หรือง้าว เหยียบอยู่บนสิงโตจีน เราเรียกว่า “เสี้ยวกาง” หรือ “เซี่ยวกาง” เข้าใจว่าเป็นอิทธิพลของจีนที่เข้ามาสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่ หัว รัชกาลที่ 3 เนื่องจากพระองค์นิยมงานศิลปะและสถาปัตยกรรมแบบจีน ท้าวเวสสุวรรณ ของ ท่านเจ้าประคุณศรี(สนธิ์) วัดสุทัศนเทพวราราม
|
ท้าวจตุโลกบาลประจำทิศทั้งสี่จะประกอบด้วย
|
“ทิศตะวันออก” พราหมณ์เรียก พระอินทร์ พุทธเรียก ท้าวธตรฐ มี คนธรรพ์ เป็นบริวาร
|
“ทิศตะวันตก” พราหมณ์เรียก พระวรุณ พุทธเรียก ท้าววิรูปักษ์ มีนาค ครุฑ และเทวดา เป็นบริวาร
|
“ทิศใต้” พราหมณ์เรียก พระยม พุทธเรียก ท้าววิรุฬหก มี กุมภัณฑ์ เป็นยักษ์มีอัณฑะใหญ่เท่าหม้อตาลเป็นบริวาร
|
และ “ทิศเหนือ” ได้แก่ ท้าวเวสสุวรรณ พราหมณ์เรียก ท้าวกุเวร พุทธเรียก ท้าวไพสพ มี อสูร รากษส และภูตผีปีศาจ เป็นบริวาร
|
ท้าวกุเวรนอกจากนี้ ในตำราโบราณและงานวรรณคดีกล่าวตรงกันว่า ท้าวเวสสุวรรณ (ท้าวเวสสุวัณ) เป็นยักษ์ที่มีพัสตราภรณ์และผิวกายสีเหลืองทอง จิตใจดีงาม ดำรงอยู่ในสัตยธรรม ถึงขนาดอุทิศตนถวายพิทักษ์รักษาพุทธสถาน และองค์พระพุทธเจ้า เช่น รูปหล่อปิดทองด้านซ้ายของฐานองค์พระพุทธชินราช วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จ.พิษณุโลก ก็ทำเป็นรูปท้าวเวสสุวรรณ (ท้าวเวสสุวัณ) ส่วนด้านขวาเป็นยักษ์อีกตนหนึ่งชื่อ “อา ฬาวกยักษ์” เหตุที่เรียกกันว่า “ท้าวกุเวร” เนื่องจากพระพรหมเห็นว่ามีรูปร่างไม่ดี ร่างกายพิการต้องถือไม้เท้า จึงตั้งชื่อให้ดังนั้น ที่บ้านเรามาจำหลักเป็นยักษ์ถือตะบองยันพื้น ก็คงจะมีเค้าเงื่อนมาจากเรื่องดังกล่าว
|
ความหมายของชื่อ “ท้าวเวสสุวัณ” นั้น เวส แปลว่า พ่อค้า หมายถึง พ่อค้าอันมีทรัพย์ อันได้แก่ ทองคำ เนื่องจากท้าวเวสสุวรรณ (ท้าวเวสสุวัณ) เคยมีอดีตชาติเป็นพราหมณ์ เปิดโรงงานค้าขายหีบอ้อยจนร่ำรวย และได้นำเงินทองบริจาคให้ผู้ยากไร้ เมื่อเกิดใหม่จึงได้ครองเมืองวิสานะนคร ผู้คนจึงเรียกว่าเวสาวัณ ด้วยกุศลดังกล่าวจึงได้รับพรจากพระพรหมให้เป็นอมตะไม่ตาย และให้เป็นเจ้าของทรัพย์สมบัติต่างๆ ทั่วแผ่นดิน
|
บ้านเรารู้จักกันในชื่อ “ปู่โสมเฝ้าทรัพย์” หรือในชื่อ “ธนบดี” แปลว่า ผู้เป็นใหญ่ในทรัพย์ หรือ “ธเนศวร” แปลว่า เจ้าแห่งทรัพย์ อีกทั้งมีหน้าที่คอยจดความดีของคนทางทิศอุดรขึ้นไปจารึกและประกาศให้ปวง เทพยดาบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์รับรู้ ผู้คนจึงนิยมจัดสร้าง หรือ จำหลักรูปท้าวเวสสุวรรณ (ท้าวเวสสุวัณ) และเคารพบูชาเพื่อความมั่งคั่งอีกด้วย คาถาท้าวเวสสุวรรณ ผ้ายันต์ท้าวเวสสุวรรณ วัดพราหมณี วัดหลวงพ่อปาดแดง รูปหล่อท้าวเวสสุวรรณ เจ้าคุณศรีสนธิ์ วัดสุทัศน์
|
วัตถุมงคลที่นิยมทำเป็นรูปท้าวเวสสุวัณก็จะมีมากมาย อาทิ ท้าวเวสสุวรรณ (ท้าวเวสสุวัณ) ของท่านเจ้าประคุณศรี(สนธิ์) วัดสุทัศนเทพวราราม เป็นต้น
|
ตามตำนานของฮินดู
|
ท้าวเวสสุวัณ เป็นบุตรพระวิศระวัสมุนี กับนางอิฑาวิฑา และเพราะว่ามีร่างกายที่งดงามจึงมีนามว่า “กุเวร” ซึ่งแปลว่า ตัวขี้ริ้ว
|
กุเวร หรือท้าวเวสสุวัณนี้ ถึงแม้ว่าจะเป็นยักษ์ที่มีหน้าตาน่าเกลียดน่ากลัว แต่ก็เป็นยักษ์ฝ่ายธรรมะ ดำรงตนอยู่ในศีลในธรรมเพียรบำเพ็ญตบะอยู่หลายพันปี จนได้รับพระพรจากท้าวมหาพรหมให้เป็น “พระธนะบดี” คือเจ้าแห่งทรัพย์ทั้งปวงและเป็นราชาแห่งยักษ์ทั้งหลาย พระวิศระวัสมุนี เป็นบิดาให้ท้าวเวสสุวัณไปอยู่นครลงกา ซึ่งพระวิศวกรรมสร้างให้เป็นที่อยู่เพราะเกรงกลัวฤทธิ์เดชของพระนารายณ์ นครลงกาขณะนั้นจึงรกร้างว่างเปล่าลงท้าวเวสสุวัณจึงได้ปกครองนครลงกาสืบมา ต่อมา ท้าวสุมาลีซึ่งเป็นยักษ์ตนหนึ่งหนีพระนารายณ์ไปอยู่ใต้บาดาลคิดอุบายจะเอานครลงกาคืน จึงวางแผนนำธิดาชื่อนิกษาไปถวายให้เป็นภรรยาพระวิศวะวัสมุนี แล้วได้เกิดบุตรร่วมกัน 4 ตน คือ 1. ท้าวราพณาสูร (ทศกัณฑ์) 2. กุมภกรรณ 3. วิภิษณ์ (พิเภษณ์) 4. นางศูรปนขา ด้วยเหตุนี้ท้าวเวสสุวัณจึงมีศักดิ์เป็นพี่ของทศกัณฑ์ เพราะว่าเป็นลูกร่วมบิดาเดียวกัน แต่ต่างมารดากัน ต่อมา นางนิกษาเห็นความสง่าของท้าวเวสสุวัณเวลาขึ้นบุษบก ที่ได้รับการประทานจากท้าวมหาพรหม ลอยไปบนอากาศเพื่อเข้าเฝ้าพระบิดาด้วยความสง่างาม นางยักษ์จึงมีความอิจฉาริษยาตามแบบฉบับของแม่เลี้ยงทั่วไปที่ไม่อยากเห็นคนอื่นได้ดีเกินลูกของตัว เลยยุยงให้ทศกัณฑ์ตั้งใจบำเพ็ญตบะอยู่หลายพันปี จนได้รับการเมตตาจากท้าวมหาพรหมประทานพรให้เป็นผู้มีอิทธิฤทธิ์ยิ่งกว่ามนุษย์ทั้งหลาย แล้วจึงยกทัพไปแย่งนครลงกา และบุษบกได้จากท้าวเวสสุวัณ ผู้เป็นพี่ชายพ่อเดียวกันแท้ ๆ แต่ท้าวเวสสุวัณถึงแม้จะเป็นยักษ์ก็เป็นยักษ์ฝ่ายธรรมะ และรักสันติไม่ต้องการก่อให้เกิดศึกสายเลือด จึงทิ้งนครลงกาและบุษบกให้ทศกัณฑ์แล้วพาบริวารหนีออกจากนครลงกาไปหาที่อยู่ใหม่ ท่านท้าวมหาพรหม เห็นความดีของท้าวเวสสุวัณ จึงให้พรเป็น อมตะ ไม่มีการตายและเป็นโลกบาล ประจำทิศอุดร (ทิศเหนือ) เป็นเจ้าแห่งทรัพย์ ปกครองสวรรค์ชั้นที่ 1 ซึ่งเป็นดินแดนน่าอยู่ เพราะมีรมณียสถานอันสำราญปราศจากความทุกข์โศกโรคภัยและความเหนื่อยยาก ปราศจากความวิตก ความหิว และความกลัวต่าง ๆ ทั้งยังมีอายุยืนถึงหมื่นปี มีสวนสวรรค์ชื่อ เจตระรถ บรรดาต้นไม้ประดับในสวนล้วนรโหฐาน มีใบเป็นผ้าเนื้อดี มีดอกเป็นอัญมณีล้ำค่า และมีผลเป็นนางกินรีงดงาม พระวิศวกรรมเป็นผู้สร้างมหาปราสาทให้อยู่อย่างโอฬารและวิจิตตระการตา มีกินนรและนางกินรีเป็นนางบำเรอ…
|
สวรรค์ชั้นที่ 1 นี้เรียกว่า สวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกา ตั้งอยู่ ณ เขาพระสุเมรุกลางจักรวาล โดยมียอดเป็นที่ตั้งของสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ซึ่งเป็นสวรรค์ชั้นที่ 2 พระอินทร์เป็นผู้ปกครอง (สวรรค์มี 6 ชั้น) สาเหตุที่เรียกสวรรค์ชั้นที่ 1 นี้ว่า จาตุมหาราชิกา ก็เพราะว่ามีจตุมหาราชเป็นผู้ปกครอง 4 องค์ดังที่เราเรียกว่า “จตุโลกบาล” คือมีหน้าที่รักษาโลกมนุษย์ใน 4 ทิศ ได้แก่
|
1.ทิศตะวันออก รักษาโดยท้าวธตรฐ จอมคนธรรพ์ ซึ่งคนธรรพ์นี้เป็นลูกครึ่งคนกับเทวดา เป็นผู้รักษาต้นโสมจึงมีความชำนาญการปรุงยา และเป็นนักษัตรคือมีความรอบรู้การดูดวงดาว เชี่ยวชาญดาราศาสตร์ และโหราศาสตร์ นอกจากนี้ยังเป็นชาวสวรรค์ที่ชำนาญการขับร้องและเล่นดนตรี ดีด สี ตี เป่า จึงมีหน้าที่เป็นพระภูมิรักษาห้องบ่าวสาวอีกด้วย
|
2.ทิศใต้ รักษาโดยท้าววิรุฬหก จอมกุมภัณฑ์ ซึ่งความจริงท้าววิรุฬหกนี้เป็นจอมเทวดาองค์หนึ่ง มีนามว่า “พระพิรุฬห์” เป็นเจ้าแห่งน้ำทั้งปวง เป็นเทวราชที่มีฤทธิ์ยิ่งกว่าเทพเจ้าองค์อื่น ๆ จึงเป็นผู้สร้างและบำรุงเทวโลกและมนุษย์โลก มีอำนาจและรอบรู้ในสิ่งทั้งปวงเพราะเป็นผู้ส่งเทวทูตไปทั่วทุกสารทิศเพื่อจดจำการกระทำของเทวดา มนุษย์และอสูรทั้งปวง ท่านเป็นผู้ที่เกลียดชังการกล่าวเท็จ และมีผู้ผิดสัญญาจึงมักจะลงโทษให้เจ็บป่วยไข้ หรือนำวรุณบาศคล้องคอไปลงทัณฑ์ แต่พระองค์เป็นผู้มีเมตตาถ้าผู้ใดสำนึกผิดก็จะผ่อนปรนให้ และผู้ใดประพฤติดีอยู่ในทำนองคลองธรรมท่านก็จะอำนวยความสุขสวัสดี ช่วยให้รอดพ้นจากภัยอันตรายได้ในบางคราว
|
3.ทิศตะวันตก รักษาโดยท้าววิรูปักษ์ จอมนาค คือมีบริวารเป็นมนุษย์ผสมนาคมีหน้าที่รักษา สมณะชีพราหมณ์และมนุษย์ผู้รักษาศีลภาวนาทั่วไป ซึ่งนาคนั้นมีความสำคัญไม่น้อย เคยขดตัวทำเป็นบัลลังก์ให้พระวิษณุบรรทมอยู่ในเกษียรสมุทร เคยให้เป็นเชือกผูกเรือไว้กับกระโดงปลาใหญ่ ซึ่งพระนารายณ์อวตารเมื่อคราวน้ำท่วมโลก และเป็นเชือกพันกับภูเขาในการทำน้ำอมฤต ทั้งพระยานาคยังเป็นสร้อยสังวาลของพระอิศวรอีกด้วย ฯลฯ นี่ว่ากันตามคัมภีร์รามายณะของพราหมณ์
|
ส่วนในสมัย พระสมณโคดมบรมพุทธเจ้าของเราก็มีนาค มาเกี่ยวข้องหลายคราว เช่น เมื่อคราวที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้แล้วเสวยวิมุตติสุขอยู่ใต้ต้นจิก ก็มีพญานาคราชชื่อ “มุจลินท์” มาขดตัวเป็นฐานแล้วแสดงอิทธิฤทธิ์แผ่พังพานบังแดดบังฝนซึ่งก่อให้เกิด พระพุทธรูปปางนาคปรกขึ้น ดังนี้เป็นต้น
|
4.ทิศเหนือ รักษาโดยท้าวกุเวร หรือท้าวเวสสุวัณ จอมยักษ์ ผู้เป็นเจ้าแห่งยักษ์ กุมภัณฑ์ รากษส แทตย์ ทานพ เปรต อสูร อสุรกาย อมนุษย์ ตลอดทั้งเป็นนายของบรรดาภูตผี ปีศาจทั้งปวง
|
ท้าวเวสสุวัณมี คทา หรือกระบองเป็นอาวุธ ซึ่งมีฤทธิ์เดชเป็นที่เกรงกลัวของบรรดายักษ์ อมนุษย์ และภูติผียิ่งนัก พระโบราณจารย์ ผู้เรืองวิชาจึงนิยมนำพระคาถามาจารึกในมีดหมอ ไม้เท้าครู หรือใช้เสกหวาย เสกก้านมะยม เสกโพล เสกว่าน เสกทราย เสกข้าวสาร เสกด้ายมงคลลงลูกประคำ หรือทำน้ำมนต์สำหรับเฆี่ยนขับผีดียิ่งนัก เรียกว่า พระคาถาอาวุธ 5 ประการ ดังนี้คือ
|
1. อาวุธพระอินทร์ ได้แก่ สายฟ้า
|
2. อาวุธพระยม ได้แก่ ตา
|
3. อาวุธท้าววิรุฬหก (หรืออาฬะวะ จอมกุมภัณฑ์) ได้แก่ ผ้าโพกศีรษะ คือวรุณบาศนั่นเอง
|
4. อาวุธท้าวเวสสุวัณ ได้แก่ คทา
|
5. อาวุธพระพุทธเจ้า ได้แก่ พระธรรมจักร ซึ่งมีมากมายถึง 84,000 พระธรรมขันธ์ด้วยกัน
|
พระคาถาอาวุธ 5 ประการนี้ เป็นวิทยาคมทางด้านการขับภูตผีปีศาจ
|
การอัญเชิญท้าวเวสสุวัณเข้าสู่บ้านหากจะนำภาพท้าวเวสสุวัณก็ดี รูปหล่อ รูปบูชาหรือรูปหล่อขนาดเล็กห้อยคอ รวมไปถึงเหรียญ เมื่อจะนำเข้าบ้านให้หันหน้าไปทางทิศเหนือ ตั้งจิตให้สงบ นึกถึงองค์ท้าวเวสสุวัณอธิษฐานเชิญท่านเข้าบ้าน นึกถึงภาวนาในใจ บอกเจ้าที่เจ้าทางแล้วขอบารมีท้าวเวสสุวัณ ให้คุ้มครองตนเองและบริวาร ให้เจริญรุ่งเรืองอยู่เย็นเป็นสุข จากนั้นเชิญท่านขึ้นสู่ที่ตั้งบูชาการบูชาท้าวเวสสุวัณ ทุกครั้งให้จุดธูป ๙ ดอกการถวายของ ได้แก่หมากพลู น้ำเปล่า ผลไม้ ๕ ชนิด ได้แก่ ส้ม ขนุน สัปปะรส ฟักทองมะพร้าวอ่อน
|
|